เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 1




เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเกิดความใคร่รู้ อยากเรียนรู้ น้ำพริกอีกทั้งนักเรียนสามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome









1
25-28
ต.ค.
2559
โจทย์ :
วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Think Pair Share
- Blackboard Share
- Mind Mapping
- Show and Share
- Wall Thinking

สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-วีดีโอเพลง “กินข้าวกับน้ำพริก”
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการทำแปลงผัก
-พริกสำหรับปลูก
วันจันทร์
ชง
-ครูจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดความอยากเรียนรู้
-ครูเปิดเพลง “กินข้าวกับน้ำพริก”และ
การ์ตูน แอนนิเมชั่นเรื่อง น้ำพริกอ่องให้นักเรียนดู
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนผ่านบทเพลง “กินข้าวกับน้ำพริก” ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
-รู้สึกอย่างไร คิดว่าเพลงนี้ต้องการสื่อสารอะไร?
-ใครเคยได้ยินการสำนวนหรือคำพูดแบบในเพลงนี้บ้าง?
-การใช้ชีวิตประจำวันในเพลงกับในปัจจุบันเป็นอย่างไร?




ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้จักน้ำพริกอะไรบ้าง?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย         
-ครูให้นักเรียนชิมน้ำพริกที่หลากหลายและเมนูน้ำพริกที่นำมาประยุกต์
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  
    -รสชาติเป็นอย่างไร?
    -มีวัตถุดิบอะไรบ้าง?
-ครูให้นักเรียนเลือกน้ำพริกที่ตัวเองชอบ หลังจากที่ได้ชิมแล้ว พร้อมกับบอกรสชาติของน้ำพริกที่ชอบ
-พูดคุยเกี่ยวกับพืชผักสวนครัวที่นักเรียนปลูกในช่วง ปิด Quarter (home school day)
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
-ผักที่นักเรียนปลูกนำไปทำอาหารอะไรได้บ้าง?

วันอังคาร
ชง
-ครูให้นักเรียนชิมเมนูน้ำพริกที่รสชาติอ่อนๆ ไม่เผ็ดมาก เป็นเมนูง่ายๆ 3-5 เมนู
เชื่อม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “รสชาติเป็นอย่างไร?
 -ครูให้นักเรียนลงคะแนนเสียงเลือกเมนูที่ชอบ เพื่อแบ่งกลุ่ม
-นักเรียนจับสลากแบ่งกลุ่มประกอบอาหารเมนูน้ำพริก
ใช้
-ครูและนักเรียนร่วมกันทำเมนูน้ำพริกที่ได้ชิม
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเมนูน้ำพริกที่ทำแล้ว แลกเปลี่ยนให้กลุ่มอื่นได้ชิม
-ครูและนักเรียนทำความสะอาด เก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
-นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรมในวันนี้?
-รู้สึกอย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-ครูให้นักเรียนเตรียมหมวก เตรียมอุปกรณ์พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และอุปกรณ์ทำแปลงปลูกพริก ปลูกผักในวันถัดไป
วันพุธ
ชง
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ที่นำมาเตรียมไว้ปลูกต้นกล้าพริก
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์เลือกพื้นที่ทำแปลงผักสวนครัว
เชื่อม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะทำแปลงผักอย่างไร ให้เหมาะสม?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
วันศุกร์
ชง
-นักเรียนชิมเมนูขนมกับน้ำพริก
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
-“นักเรียนจะทำเมนูเหล่านี้ด้วยตัวเองได้อย่างไร
-นักเรียนสามารถนำน้ำพริกไปทำอะไรได้อีกบ้าง
-นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้าง
เชื่อม
-ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนอภิปรายภายในกลุ่มเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่กลุ่มเลือก
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะเลือกหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับอะไร เพื่อค้นหาคำตอบจากสิ่งที่อยากเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม?
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ (การบ้าน)
- องค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ Mind Mapping (การบ้าน)
ใช้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
กิจกรรมคู่ขนาน ปลูกพริกและผักสวนครัว
ภาระงาน
- ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
-การปลูกพริก
ชิ้นงาน
- วาดภาพตกแต่งชื่อหน่วยการเรียนรู้
เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-   เข้าใจ สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
-   เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ

ตัวอย่างภาพกิจกรรมและชิ้นงาน






















1 ความคิดเห็น:

  1. ใน Quarter นี้พี่ ป.3 ได้เลือกเรื่องที่จะเรียนและตั้งชื่อหน่วยภายในวันเดียว ซึ่งคุณครูได้สร้างแรงบันดาลใจที่เห็ยได้ชัดเจนด้วยการให้ชิมน้ำพริก ซึ่งมีรถชาติไม่เผ็ดมาก เนื่องจากมีพี่ๆ หลายคนที่ทานเผ็ดไม่ได้ ทุกคนพึงพอใจในการชิมน้ำพริกและมีความกระตือรือร้นซึ่งเห็นได้ชัดเจนในวันแรก กิจกรรมดำเนินไปได้ดี บรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ ชื่อหน่วยPBLที่ได้มีชื่อว่า 21 ผู้พิทักษ์น้ำพริก ซึ่งพวกเขาบอกว่า หมายถึง พวกเขาในห้อง 21 คน ไม่รวมคุณครู จะทำหน้าที่พิทักษ์น้ำพริกไม่ให้สูญหาย พี่ใบตอง : เพื่อเราจะรักษาน้ำพริกสูตรดั้งเดิมไว้ พี่อลิทซ์ : รักษาน้ำพริกไว้ไม่ให้คนอื่นเอาไป หลากหลายความคิดเห็นในการปกป้องน้ำพริกไว้ ในวันแรกได้ชิมเมนูแซนวิซน้ำพริกไข่ต้ม ซึ่งคุณครูตัดแบ่งให้เป็นชิ้นเล็กๆเพื่อให้ทุกคนได้ชิมอย่างทั่วถึง ก็มีหลายเสียงๆ ทักท้วง พี่ภูมิ : ครู ผมขอคำใหญ่ๆ พี่ออมสิน : ครูขอเป็นคนสุดท้ายจะได้คำใหญ่ๆ ส่วนในวันสุดสัปดาห์พวกเขา ได้ร่วมทำหลนปลาทูเค็ม และชิมพร้อมๆกัน หลายคนไม่กล้าชิมในตอนแรก แต่ก็มีคำที่สอง คำที่สามตามมา ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแรงในสัปดาห์นี้ และกิจกรรมดำเนินไปได้เร็ว สามารถทำเวลาได้ดี
    คำถามเพิ่มเติจากนักเรียน : ปลาทูเค็มทำอย่างไร?
    จะดีกว่านี้ ถ้า บริหารเวลาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาในการทำกิจกรรมให้มีค่ามากที่สุด

    ตอบลบ