เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 3


เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนในการทำน้ำพริก การออกแรงตำน้ำพริก ความสัมพันธ์ของครกกับสาก
Week
Input
Process
Output
Outcome











3
7-11 พ.ย.
59
โจทย์ :
วัตถุดิบในการทำน้ำพริก กระบวนการทำน้ำพริกภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้
Key Questions :
-นักเรียนจะทำน้ำพริกให้อร่อยและน่ารับประทานได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)
-เครื่องปรุง
วันจันทร์
ชง
-นักเรียนชิมน้ำพริกพื้นบ้านของแต่ละภาค
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “รสชาติของน้ำพริกเป็นอย่างไร/รสชาตินั้นเกิดจากส่วนผสมอะไร?
-ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
เชื่อม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากการสืบค้นข้อมูล นักเรียนได้รู้จักน้ำพริกชนิดใดเพิ่มเติมบ้าง?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย พร้อมทั้งใช้เครื่องมือคิด blackboard share
-นักเรียนแต่ละกลุ่มจดรายการเมนูน้ำพริกของแต่ละภาคที่กลุ่มตัวเองรู้จัก และเลือก 1 เมนู เพื่อจะทำในวันถัดไป

-แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ภายในกลุ่มว่าในน้ำพริกที่เลือกมานั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง (brainstorm ,blackboard share
-ภายในกลุ่มแบ่งหน้าที่กันเพื่อเตรียมวัตถุดิบในการทำน้ำพริกมาทำในวันถัดไป พร้อมทั้งวางแผนกำหนดอัตราส่วนของส่วนผสม
วันอังคาร
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการทำน้ำพริกให้อร่อยได้อย่างไร?
ใช้
-แต่ละกลุ่มทำเมนูน้ำพริกที่ได้เลือกแล้ว และแลกเปลี่ยนให้กลุ่มอื่นชิม
เชื่อม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในวันนี้/พบปัญหาหรืออุปสรรคอะไร?มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะเลือกเมนูน้ำพริกอื่นๆเพื่อพัฒนาฝีมือได้อย่างไร?
-แต่ละกลุ่มเลือกเมนูน้ำพริกเมนูที่ 2   และแบ่งกันนำวัตถุดิบมาเพิ่มพร้อมทั้งวางแผนกำหนดอัตราส่วนของส่วนผสม
วันพุธ
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะทำน้ำพริกให้น่ารับประทานได้อย่างไร?
ใช้
-นักเรียนแต่ละกลุ่มทำน้ำพริกจากวัตถุดิบที่เตรียมมา และแลกปลี่ยนให้กลุ่มอื่นชิม
เชื่อม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในวันนี้/พบปัญหาหรืออุปสรรคอะไร?มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะเลือกเมนูน้ำพริกอื่นๆเพื่อพัฒนาฝีมือได้อย่างไร?
-แต่ละกลุ่มเลือกน้ำพริกเมนูที่ 3และแบ่งกันนำวัตถุดิบมาเพิ่มพร้อมทั้งวางแผนกำหนดอัตราส่วนของส่วนผสม
วันศุกร์
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะทำน้ำพริกให้น่ารับประทานได้อย่างไร?
-แต่ละกลุ่มทำน้ำพริกจากวัตถุดิบที่เตรียมมาและแลกเปลี่ยนให้กลุ่มอื่นชิม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในวันนี้/พบปัญหาหรืออุปสรรคอะไร?มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร
เชื่อม
-ครูให้แต่ละกลุ่มเลือกเมนูน้ำพริก เมนู จากเมนูที่กลุ่มตัวเองได้ทำ(โดยพัฒนาเมนูน้ำพริกที่แต่ละกลุ่มเลือก)

ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะปรับปรุงและพัฒนาน้ำพริกของกลุ่มตนเองอย่างไรให้น่ารับประทานและรสชาติดียิ่งขึ้น?
เชื่อม
-นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งกันนำวัตถุดิบมาเพิ่ม
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลในการทำน้ำพริกให้อร่อยจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย (Flip classroom)
ใช้
-นักเรียนสรุปความเข้าใจกระบวนการทำน้ำพริกของแต่ละกลุ่มผ่านการทำชาร์ตความรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
กิจกรรมคู่ขนาน ปลูกพริกและผักสวนครัว
ภาระงาน
-ระดมความคิดภายในกลุ่ม
-เตรียมส่วนผสมในการทำน้ำพริก
-ทำน้ำพริก
ชิ้นงาน
-น้ำพริก 4 ภาค
-การ์ตูนช่องการทำน้ำพริก
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนในการทำน้ำพริก การออกแรงตำน้ำพริก ความสัมพันธ์ของครกกับสาก
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
เคารพตนเอง  และผู้อื่น



















































1 ความคิดเห็น:

  1. กระบวนการในสัปดาห์นี้ เป็นการทำน้ำพริก เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนในการทำน้ำพริก และนำไปสู่การพัฒนาสูตร พัฒนาฝีมือในการทำน้ำพริก ในช่วงของการเรียนรู้จะมีขั้นของการนำไปสู่การพัฒนา โดยเริ่มจากวิธีการทำ วิธีการชิม และวิธีการสะท้อนผลจากการชิม นำไปสู่การพัฒนา ซึ่งในการแชร์ ทุกคนมีส่วนร่วมและเกิดประโยชน์ สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ ทุกคนมีส่วนร่วมในการชิม ถึงแม้ว่าพี่ๆหลายคนทานเผ็ดไม่ได้ แต่ในการชิมน้ำพริกของแต่ละกลุ่มที่เพื่อนทำไม่มีใครไม่ชิม บางคนก็ขอชิมมากกว่าหนึ่งคำ ที่สำคัญที่สุด พี่ๆป.3 ยังได้ลิ้มลองอาหารรสชาติแปลกใหม่ที่ถ้าพบเจอทั่วไป พวกเขาก็คงเลลี่ยงที่จะไม่ทาน และยิ่งได้เพิ่มเติมการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีกิจกรรมผ็ปกครองอาสา ที่มีผู้ปกครองมาร่วมทำน้ำพริกปลาทูสูตรสมุนไพร ให้ทาน สปาเกตตี้ และน้ำสมุนไพร ร่วมกันทำกิจกรรมและร่วมชิมน้ำพริกกไปด้วยกัน ในวันแรกแค่รู้วิธีการ ยังไม่รู้ว่าความอร่อยที่แท้จริงเป็นอย่างไร วันที่สองได้ชิมน้ำพริกรสอร่อยที่คุณครูทำ จึงได้รู้จักน้ำพริกที่อร่อยและทุกคนมีแรงบันดาลใจที่จะทำน้ำพริกของตัวเองให้อร่อยเหมือนกับน้ำพริกที่ได้ชิม จึงถือเป็นความสำเร็จที่ใช้วิธีการชิมในการกระตุ้นการเรียนรู้ หลังจากการทำน้ำพริกในแต่ละครั้ง คุณครูและพี่ จะร่วมกัน Round robin ร่วมแชร์กันถึงรสชาติที่ได้ชิม ซึ่งพี่ๆสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองคิด ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับปรุงแก้ไข หลังจากชิมน้ำพริกกากหมู คุณครูให้พี่ช่วยแนะนำเพื่อน พี่ออมสิน : ผมว่าใส่กระเทียมเยอะไปครับ ต่อจากนั้นชิมน้ำพริกแคปหมูของภาคเหนือ พี่เซน :ผมรู้สึกว่าหมูเด้ง จากคำตอบนี้ทำให้เกิดเสียงหัวเราะไปทั่วทั้งห้อง ด้วยความที่กลุ่มเพื่อนตำแคปหมูละเอียด และเมื่อตักชิมมก็เหมือนแคปหมูละลายในปากเกือบจะไม่ต้องเคี้ยว นอกจากนี้ก็ยังชิมซุปมะเขือซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของน้ำพริกภาคอีสาน ทุกๆคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อร่อย และถือเป็นน้ำพริกเมนูเดียวในสัปดาห์นี้ที่ใส่ปลาร้า มากไปกว่านั้นพี่ๆยังขอเอาข้าวเหนียวมาทานกับซุบมะเขือในวันต่อไป อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้กลุ่มนี้เลือกทำซุบมะเขือเนื่องจากพวกเขาได้คุยกันภายในกลุ่มว่า พี่ปลาย: เราจะทำน้ำพริกอะไรดีที่ไม่เผ็ดมาก ให้ปุ๊ปปั๊ปทานได้ จึงได้ตกลงกันทำซุบมะเขือ น้ำพริกสุดท้ายคือน้ำพริกโจร หรือน้ำชุบโจรที่เป็นเอกลักษณ์ของคนปักษ์ใต้ สมาชิกกลุ่มไม่ปล่อยให้น้ำพริกเหลือทิ้ง ซดน้ำพริกจนหมดถ้วยอย่างตั้งใจ ในวันสุดสัปดาห์พี่ๆได้เลือก เตรียมเครื่องเคียงมาทานกับน้ำพริกและให้คุณครูท่านอื่นๆที่อยู่ประจำตึกประถมและผู้ปกครองที่ผ่านมาได้ชิมน้ำพริก และช่วยแนะนำเพิ่มเติมเพื่อไปปรับปรุงแก้ไข หัวใจสำคัญของกระบวนการในสัปดาห์นี้ คือ ต้นแบบของรสชาติอร่อย และวิธีการที่ถูกต้องเพื่อกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถนำไปพลิกแพลง และเปลี่ยนแปลงได้อย่างเข้าใจ จะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ว่ารสชาตินั้นอร่อยหรือไม่ถ้าไม่เคยชิมรสชาติที่อร่อยมาก่อน เราจะเรียนรู้กระบวนการที่เกิดขึ้นแต่ไม่ได้คัดลอกกระบวนการนั้นแต่เราจะนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้อยู่ในสมดุลที่จะเกิดขึ้น “จะดีกว่านี้ถ้าครูให้นักเรียนได้ชิมรสชาติน้ำพริกที่อร่อยเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจความอร่อยที่เป็นกระบวนการที่เขาจะนำไปต่อยอดได้”

    ตอบลบ