เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจและสามารถประยุกต์เมนูน้ำพริกเพื่อเป็นอาหารว่าง

Week
Input
Process
Output
Outcome








7
โจทย์ :
อาหารว่างจากน้ำพริก
Key Question :
นักเรียนจะประยุกต์เมนูน้ำพริกเป็นอาหารว่างให้น่ารับประทานได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Round Robin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
-
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)
-เครื่องปรุง


วันจันทร์
ชง
-ครูและนักเรียนชิมอาหารว่างที่แต่ละคนเตรียมมา
-ครูนำอาหารว่างอย่างอื่นนอกจากน้ำพริกให้นักเรียนชิม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
-รสชาติเป็นอย่างไร
-นักเรียนจะทำเมนูของว่างจากน้ำพริกได้อย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ชง
-ครูนำอาหารว่าง (แครกเกอร์ ขนมปัง ข้าวเกรียบ ข้าวตัง ข้าวแต๋น)
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำวัตถุดิบเหล่านี้ไปใช้ทำเมนูอะไรได้บ้าง? โดยมีน้ำพริกเป็นส่วนประกอบ”
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายและเลือกเมนูอาหารว่างที่จะทำ
-นักเรียนแต่ละกลุ่ม วางแผนเมนูของตัวเอง ต้องเตรียมวัตถุดิบอะไรบ้าง อาหารว่างจะมีลักษณะเป็นอย่างไร?
-แต่ละกลุ่มทำชิ้นงานเพื่อวางแผนขั้นตอนการทำและลักษณะของเมนูที่ได้
-แต่ละกลุ่มนำเสนอเมนูที่เลือกทำให้ครูและเพื่อนฟัง
วันอังคาร
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนจะทำอาหารว่างให้น่ารับประทานได้อย่างไร?
ใช้
-แต่ละกลุ่มลงมือทำเมนูที่เลือกไว้แล้ว
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเมนูของกลุ่มตัวเอง
-ครูและนักเรียนชิมอาหารว่าง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “รสชาติเป็นอย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์รสชาติที่ได้ชิม
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้รับสารอาหารอะไรบ้างจากเมนูของว่าง ที่ได้รับประทาน
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์สารอาหารที่ได้รับ
ใช้
-นักเรียนทำชิ้นงาน สารอาหารที่ได้รับจากเมนูของว่าง
วันพุธ
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้รับสารอาหารประเภทใดน้อยที่สุด และจะเพิ่มสารอาหารชนิดนั้นได้อย่างไร
ใช้
-นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเอง ชิ้นงานการวิเคราะห์สารอาหาร
วันศุกร์
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสรุปสูตรในการทำอาหารว่างด้วยตัวเองได้อย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
ใช้
-นักเรียนออกแบบชิ้นงาน สูตรอาหารว่างของตนเอง
-สรุปบทเรียนรายสัปดาห์

ภาระงาน
-ชิมอาหารว่างจากน้ำพริก
-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเมนูอาหารว่างจากน้ำพริก
-ทำอาหารว่างจากน้ำพริก
ชิ้นงาน
ประยุกต์น้ำพริกเป็นของว่าง
-แครกเกอร์น้ำพริกปลาทู
-ซาลาเปาไส้น้ำพริก
-ข้าวตังหน้าน้ำพริก
 -ข้าวแต๋นหน้าน้ำพริก
-แซนวิสน้ำพริก
-ข้าวผัดน้ำพริกต่างๆ
-    สรุปบทเรียนรายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถประยุกต์เมนูน้ำพริกเพื่อเป็นอาหารว่าง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง


























1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างมากกว่าทุกๆสัปดาห์เป็นการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองผ่านกิจกรรม Home school day ซึ่งโจทย์ที่ได้รับคือ การทำน้ำพริกอย่างน้อยคนละ 3ชนิดร่วมกับผู้ปกครอง ซึ่งบางคนก็มีการถ่ายภาพกิจกรรมที่ตนเองได้ทำเพื่อติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรม เมื่อทุกคนมาเจอกันในวันพฤหัสบดีจึงได้พูดคุยผ่านน้ำพริกที่ตัวเองได้นำมาให้เพื่อนชิม โดยการแบ่งกลุ่มและเวียนชิมน้ำพริกของกลุ่มอื่น ซึ่งมีน้ำพริกหลายชนิดมากและมีความหลากหลาย นอกจากชิมแล้วก็ได้เก็บตัวอย่างน้ำพริกเพื่อเก็บไว้ตรวจสอบวันหมดอายุโดยการบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิดและวางไว้ในอุณหภูมิห้อง และสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง รสชาติ กลิ่น และสี น้ำพริกแห้งส่วนใหญ่จะเก็บได้นาน มีนักเรียนหลายคนทำน้ำพริกอ่องมา ทำวันเดียวกันแต่หมดอายุไม่พร้อมกัน ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับกระบวนการขั้นตอนการทำที่แตกต่างกันด้วย และเมนูใหม่ที่จะเกิดขึ้นซึ่งก็คือ ขนมครกหน้าน้ำพริก แต่ก่อนอื่นต้องทำขนมครกให้เป็นก่อน ซึ่งก็สนุกสนานและ น่าสนใจ น่าสงสัยเหมือนกัน “ครูครับ ทำไมต้องชื่อขนมครก” “นี่ขนมครกเละแน่เลย” “โอ้โห สวยจังเลย ผมอยากแคะบ้าง” “คุณครูใส่แป้งอะไรลงไปนะคะ” เป็นการเรียนรู้จากคำถามจริงๆ พอทำเสร็จทุกคนก็ได้ชิม รับรู้ได้ถึงขนมครกจากฝีมือการแคะและการโรยหน้าด้วยตัวเองทั้งอร่อยและภาคภูมิใจ

    ตอบลบ