เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถประยุกต์เมนูน้ำพริกกับข้าวได้อย่างเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome











6
โจทย์ :
ข้าวกับการประยุกต์เมนูน้ำพริก
Key Question :
-นักเรียนจะนำน้ำพริกไปประยุกต์เพื่อทานกับข้าวอย่างไรให้เหมาะสม?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-ข้าว
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)




                           วันจันทร์
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำน้ำพริกไปทานกับอะไรได้บ้าง?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
ชง
-ครูมีข้าว ให้ 2 ชนิด ข้าวจ้าวกับข้าวหนียว
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำข้าวไปประยุกต์ให้สามารถทานได้กับน้ำพริกได้อย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการประยุกต์เมนูน้ำพริกโดยใช้ข้าวเป็นส่วนประกอบ
-นักเรียนนำเสนอแผนการประกอบอาหารให้ครูและเพื่อนเข้าใจ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งกันเตรียมวัตถุดิบเพิ่มเติมจากที่มีอยู่
วันอังคาร
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะประกอบอาหารให้อร่อยได้อย่างไร?
เชื่อม
-นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำเมนูที่ได้เลือกไว้แล้ว
- แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกันชิม และให้คุณครูชิม
-แต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเพื่อปรับปรุงรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น
วันพุธ
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการปรับปรุงรสชาติอาหารให้อร่อยได้อย่างไร?
ใช้
-แต่ละกลุ่มปรับปรุงรสชาติเมนูข้าวกับน้ำพริก และให้เพื่อนๆและครูได้ชิม
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำวัตถุดิบอื่นนอกจากข้าวมาทำอาหารกับน้ำพริกได้อย่างไร?/สามารถนำอะไรมาทำได้บ้าง?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-แต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเมนูน้ำพริกใหม่ และแบ่งกันเตรียมวัตถุดิบมาทำเมนูที่กลุ่มเลือก
วันศุกร์
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะปรุงรสชาติอาหารอย่างไรให้อร่อยภายในครั้งเดียว?
ใช้
-นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำอาหารที่เลือกไว้
-แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกันชิมอาหารและให้คุณครูชิม
-ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงรสชาติอาหาร
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นอกจากเมนูอาหารที่นักเรียนได้ทำแล้วสามารถนำน้ำพริกไปประยุกต์ทำเมนูอะไรได้อีกบ้าง?/นักเรียนจะสามารถทำอาหารว่างจากน้ำพริก เมนูใดได้บ้าง?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-นักเรียนทำอาหารว่างมาให้เพื่อนชิม (Flip classroom)

ภาระงาน
-ร่วมแสดงความคิดเห็นเมนูข้าวกับน้ำพริก
-เตรียมวัตถุดิบในการทำน้ำพริก
-ทำอาหารจากน้ำพริกกับข้าว
-ชิมเมนูน้ำพริก
ชิ้นงาน
-ข้าวผัดน้ำพริก
-ข้าวจี่น้ำพริก
ความรู้
เข้าใจและสามารถประยุกต์เมนูน้ำพริกกับข้าวได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง




















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.3 ต้องประยุกต์เมนูอาหารที่เข้ากันกับน้ำพริก ซึ่งทำให้รู้เลยว่าน้ำพริกทานกับอะไรก็อร่อย คุณครูเลือกเมนูเส้นกับน้ำพริกให้พี่ชิมเป็นสปาเกตตี้น้ำพริกกากหมูและเส้นหมี่ซั่วน้ำพริกกากหมู แต่ละคนก็ชอบแตกต่างกันออกไป หนูว่า สปาเกตตี้อร่อย น้ำพริกกากหมูเข้ากับเส้นสปาเกตตี้ “ผมว่าหมี่ซั่วอร่อย เข้ากันกับน้ำพริกกากหมู” หลากหลายความชอบซึ่งเป็นที่มาของการทำเมนูเส้นของแต่ละกลุ่ม ภาคอีสาน เลือกเส้นหมี่เหลือง ภาคกลาง เส้นอูด้ง ภาคเหนือ เส้นใหญ่ลุยสวน ภาคใต้ เส้นมักกะโรนี ทุกเมนูเส้นจะต้องใช้น้ำพริกกากหมู กลุ่มภาคกลางที่เคยชินกับการทำน้ำพริกกากหมูจึงถือเป็นเรื่องถนัดที่สุด และแต่ละกลุ่มก็ได้เรียนรู้การทำน้ำพริกกากหมูไปพร้อมกันอีกครั้ง แต่จะมีกลุ่มภาคใต้ที่ลืมสูตรไปบ้าง แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำพริกกากหมูเป็นเมนูที่คุณครูทำให้ชิมบ่อยที่สุด ในส่วนเพิ่มเติมของกิจกรรมผู้ปกครองอาสา ผู้ปกครองได้ช่วยสร้างการเรียนรู้การทำขนมปัง จึงถือโอกาสทำขนมปังไส้น้ำพริกกากหมู และคุณแม่ก็ได้เพิ่มเติมเมนูเมี่ยงปลาร้าอีกด้วย บรรยากาศในห้องเรียนจึงอบอุ่นและสนุกสนาน เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้เติมเต็มการเรียนรู้ของพี่ๆ คุณครูได้พาทำเมนูน้ำพริกภาคอีสาน ได้แก่ ซุบมะเขือ ซุบหน่อไม้ ได้ทั้งความอร่อยและความตื่นเต้น ทั้งเป็นเรื่องเล่าระหว่างพี่ๆกับผู้ปกครองในการแนะนำเมนูใหม่ๆได้เล่าสู่กันฟัง
    จะดีกว่านี้ถ้าคุณครูสร้างทางเลือกการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับนักเรียน พูดคุยกับพวกเขาเยอะๆจะได้การแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย

    ตอบลบ