เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 5




เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเครื่องเคียงสำหรับทานกับน้ำพริกได้อย่างเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome











5
21-25
พ.ย.
59
โจทย์ 
การรับประทานน้ำพริกกับเครื่องเคียงชนิดต่างๆ
ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ
Key Question :
-นักเรียนจะรับประทานน้ำพริกอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย?
-นักเรียนจะทำน้ำพริกอย่างไรให้เป็นที่ชื่นชอบของบุคคลอื่น?
เครื่องมือคิด :
-Show and Share
-Brain storms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 -
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-เครื่องเคียง (ผักกาดขาว แตงกวา)
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)
-เครื่องปรุง

วันจันทร์
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากการสืบค้นข้อมูล
-“น้ำพริกที่นักเรียนทำสามารถนำไปทานกับเครื่องเคียงอะไรได้บ้าง?
-ทำไมต้องทานกับเครื่องเคียงชนิดนั้น?
-ถ้าเลือกทานกับอย่างอื่นจะเป็นอะไรได้อีกบ้าง?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
วันอังคาร
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะเลือกเครื่องเคียงให้เหมาะสมกับน้ำพริกได้อย่างไร?
ใช้
-แต่ละกลุ่มเตรียมเครื่องเคียงที่เลือกมาทานกับน้ำพริก
-นักเรียนแต่ละกลุ่มทำน้ำพริกของกลุ่มตัวเองพร้อมกับเครื่องเคียงที่เลือกแล้ว และจัดจานน้ำพริกให้สวยงาม
-แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกันชิมน้ำพริก และให้คุณครูชิม
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “รสชาติเป็นอย่างไร?
วันพุธ
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะเลือกเครื่องเคียงให้เหมาะสมกับน้ำพริกได้อย่างไร?
ใช้
-แต่ละกลุ่มเตรียมเครื่องเคียงที่เลือกมาทานกับน้ำพริก
-นักเรียนแต่ละกลุ่มทำน้ำพริกของกลุ่มตัวเองพร้อมกับเครื่องเคียงที่เลือกแล้ว และจัดจานน้ำพริกให้สวยงาม
-แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกันชิมน้ำพริก และให้คุณครูชิม
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “น้ำพริกของนักเรียนทานกับเครื่องเคียงชนิดอื่นแล้วเป็นอย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย

วันศุกร์
ใช้
-นักเรียนทำชิ้นงานน้ำพริก 4 ภาคกับเครื่องเคียง
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
กิจกรรมคู่ขนาน ปลูกพริกและผักสวนครัว
ภาระงาน
-   -ทำน้ำพริก
   -จำแนกสารอาหาร 5 หมู่ที่ได้รับจากน้ำพริก
- เลือกเครื่องคียงที่รับประทานกับน้ำพริกแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม

ชิ้นงาน
-ชาร์ต สารอาหารที่ได้รับจากการทานน้ำพริก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเครื่องเคียงสำหรับทานกับน้ำพริกได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
เคารพตนเอง  และผู้อื่น











6
โจทย์ :
ข้าวกับการประยุกต์เมนูน้ำพริก
Key Question :
-นักเรียนจะนำน้ำพริกไปประยุกต์เพื่อทานกับข้าวอย่างไรให้เหมาะสม?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-ข้าว
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)



-ครูมีข้าว ให้ 2 ชนิด ข้าวจ้าวกับข้าวหนียว
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำข้าวไปประยุกต์ให้สามารถทานได้กับน้ำพริกได้อย่างไร?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบและวางแผน เมนูข้าวกับน้ำพริก และแบ่งกันเตรียมวัตถุดิบเพิ่มเติมจากที่มีอยู่
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำเมนูที่ได้เลือกไว้แล้ว
- แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกันชิม และให้คุณครูชิม
-แต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเพื่อปรับปรุงรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น
-แต่ละกลุ่มปรับปรุงรสชาติเมนูข้าวกับน้ำพริก และให้เพื่อนๆและครูได้ชิม
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำวัตถุดิบอื่นนอกจากข้าวมาทำอาหารกับน้ำพริกได้อย่างไร?/สามารถนำอะไรมาทำได้บ้าง?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-แต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเมนูน้ำพริกใหม่ และแบ่งกันเตรียมวัตถุดิบมาทำเมนูที่กลุ่มเลือก
-นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำอาหารที่เลือกไว้
-แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกันชิมอาหารและให้คุณครูชิม
-ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงรสชาติอาหาร
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นอกจากเมนูอาหารที่นักเรียนได้ทำแล้วสามารถนำน้ำพริกไปประยุกต์ทำเมนูอะไรได้อีกบ้าง?/นักเรียนจะสามารถทำอาหารว่างจากน้ำพริก เมนูใดได้บ้าง?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-นักเรียนทำอาหารว่างมาให้เพื่อนชิม (Flip classroom)

ภาระงาน
-ร่วมแสดงความคิดเห็นเมนูข้าวกับน้ำพริก
-เตรียมวัตถุดิบในการทำน้ำพริก
-ทำอาหารจากน้ำพริกกับข้าว
-ชิมเมนูน้ำพริก
ชิ้นงาน
-ข้าวผัดน้ำพริก
-ข้าวจี่น้ำพริก
ความรู้
เข้าใจและสามารถประยุกต์เมนูน้ำพริกกับข้าวได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง








7
โจทย์ :
อาหารว่างจากน้ำพริก
Key Question :
นักเรียนจะประยุกต์เมนูน้ำพริกเป็นอาหารว่างให้น่ารับประทานได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Round Robin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
-
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)
-เครื่องปรุง


กิจกรรม
-ครูและนักเรียนชิมอาหารว่างที่แต่ละคนเตรียมมา
-ครูนำอาหารว่าง (แครกเกอร์ ขนมปัง ข้าวเกรียบ ข้าวตัง ข้าวแต๋น)
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะใช้วัตถุดิบเหล่านี้ไปใช้ทำเมนูอะไรได้บ้าง?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายและเลือกเมนูอาหารว่างที่จะทำ
-แต่ละกลุ่มลงมือทำเมนูที่เลือกไว้แล้ว
-ครูและนักเรียนชิมอาหารว่าง

ภาระงาน
-ชิมอาหารว่างจากน้ำพริก
-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเมนูอาหารว่างจากน้ำพริก
-ทำอาหารว่างจากน้ำพริก
ชิ้นงาน
ประยุกต์น้ำพริกเป็นของว่าง
-แครกเกอร์น้ำพริกปลาทู
-ซาลาเปาไส้น้ำพริก
-ข้าวตังหน้าน้ำพริก
 -ข้าวแต๋นหน้าน้ำพริก
-แซนวิสน้ำพริก
-ข้าวผัดน้ำพริกต่างๆ
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถประยุกต์เมนูน้ำพริกเพื่อเป็นอาหารว่าง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง












8
























โจทย์ :
การประกอบการจากการประยุกต์เมนูน้ำพริกการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และการเก็บน้ำพริกให้ได้นาน

Key Questions :
-นักเรียนจะออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้เหมาะสมได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Round Robin
- Card and Chart  
- Show and Share
- Mind Mapping
- Wall Thinking


ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     -

บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)
-เครื่องปรุง

-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างไรให้เหมาะสม?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-ครูนำผลิตภัณฑ์หลากหลายแบบให้นักเรียนได้สังเกต
-ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ ผ่านคำถาม
   -บรรจุภัณฑ์แต่ละแบบเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง?
 -ถ้านักเรียนอยากให้เห็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน จะเลือกบรรจุภัณฑ์แบบใดได้บ้าง?
-ครูให้นักเรียนดูส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ และวิเคราะห์ร่วมกันในประเด็น บรรจุภัณฑ์ที่ดีควรประกอบด้วยอะไรบ้าง?
-นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบและวางแผนสร้างบรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
-นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มใส่ผลิตภัณฑ์ของตัวเองและตกแต่งให้สวยงาม
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอบรรจุภัณฑ์ พร้อมประเมินราคา
ภาระงาน
-คิดออกแบบบรรจุภัณฑ์
-เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างบรรจุภัณฑ์
-สร้างบรรจุภัณฑ์
ชิ้นงาน
-แบบร่างบรรจุภัณฑ์
-บรรจุภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น










9
โจทย์ :
ทำน้ำพริกเพื่อจัดนิทรรศการ

Key Questions :
-นักเรียนจะทำน้ำพริกที่สามารถเก็บไว้ทานได้นานได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Round Robin
- Card and Chart  
- Show and Share
- Mind Mapping
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-   ผู้ปกครอง
บรรยากาศ/สื่อ :

บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)

กิจกรรม
-ผู้ปกครอง ครู นักเรียน ร่วมกันทำเมนูน้ำพริก ของแต่ละภาค และเมนูประยุกต์จากน้ำพริก และเก็บไว้เพื่อเตรียมจัดนิทรรศการ
-จัดเตรียมผลิตภัณฑ์ใส่บรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม
-สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-ทำน้ำพริก
-ทำเมนูประยุกต์จากน้ำพริก
ชิ้นงาน
-น้ำพริกกะปิ
-น้ำพริกหนุ่ม
-น้ำพริกปลาร้า
-สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
-เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนการทำน้ำพริก ไปจนถึงการนำไปใส่บรรจุภัณฑ์และการนำไปประยุกต์ใช้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น












10
โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้

Key Questions :
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarterนี้?
-นักเรียนจะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของตนเองไปสู่บุคคลอื่นได้อย่างไร?
สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Round Robin
- Card and Chart  
- Show and Share
- Mind Mapping
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-
บรรยากาศ/สื่อ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-นิทรรศการ

กิจกรรม
-ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของตนเองไปสู่บุคคลอื่นได้อย่างไร?
-ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
-นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมผลิตภัณฑ์น้ำพริกของตัวเองเพื่อนำเสนอ และจัดนิทรรศการ
ภาระงาน
-ร่วมออกแบบกิจกรรมสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ชิ้นงาน
-ชิ้นงานสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
สามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการหน่วย “ผ้าให้ผู้อื่นเข้าใจ ชี้ให้เห็นคุณค่า สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น

















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้ พี่ๆ ป. 3 เรียนรู้การถนอมอาหาร การเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อการแบ่งปัน ส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นร่วมกับกิจกรรมผู้ปกครองอาสา โดยได้มีการประสานกับกลุ่มผู้ปกครองเพื่อที่จะร่วมกันทำน้ำพริกในการแบ่งปัน การเตรียมวัตถุดิบต่างและยืดอายุของวัตถุดิบเพื่อให้วัตถุดิบยังคงสภาพไม่ต่างจากเดิมเพื่อรอเวลาที่จะถึงวันแบ่งปัน อย่างเช่น การลวกผักและให้ผักดูน่ากินอยู่เสมอ หลังจากลวกผักแล้ว ต้องนำมาช๊อคด้วยน้ำอุณหภูมิปกติที่ละลายน้ำตาลไว้เพื่อให้เซลล์ผักถูกเติมเต็มและยังคงเต็มอยู่ทำให้ผักดูน่ากิน การเลือกทำน้ำพริกแบ่งปันที่เป็นน้ำพริกผัด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารสุกก่อน เป็นการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยืดอายุไม่ให้อาหาร เสื่อมอายุได้ง่าย กิจกรรมเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้นอกจากได้เรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองแล้ว คือ การชิมขนมปังกับน้ำพริกเผา ซึ่งพี่ๆได้ร่วมสังเกตวิธีการทำจากคุณครูอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การเรียนรู้ในสัปดาห์ต่อไปถึงการทำอาหารว่างประกอบกับน้ำพริก ในสุดสัปดาห์พี่ๆได้ร่วมสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์รวมถึงการแบ่งปันน้ำพริก พี่โชค “ ได้เรียนรู้ว่าการแบ่งปันไม่ต้องใช้เงินเยอะ” พวกเขาได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ในการแบ่งปัน และได้ร่วมกันพูดคุยถึงการแก้ไขปัญหาถ้ามีการจัดกิจกรรมการแบ่งปันในครั้งถัดไป ในเรื่องของการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ แทนการใช้ถุงพลาสติกเพื่อให้ได้ตระหนักถึงการดูแลโลก

    ตอบลบ