เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 4

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความแตกต่างของน้ำพริกแต่ละประเภท
Week
Input
Process
Output
Outcome










4
14-18
พ.ย.
59
โจทย์ :
การปรับปรุงและพัฒนาน้ำพริกให้อร่อย
 Key Questions :
-        -นักเรียน  คิดว่าเพราะเหตุใดน้ำพริกแต่ละภาคจึงมีความแตกต่างกัน?
                                  
เครื่องมือคิด :
-  Brain Storms
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:

สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
-น้ำพริก
-อุปกรณ์ในการตำน้ำพริก(ครก สาก)
-เครื่องปรุง
วันจันทร์
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะปรับปรุงและพัฒนาน้ำพริกของกลุ่มตนเองอย่างไรให้น่ารับประทานและรสชาติดียิ่งขึ้น?

ใช้
-นักเรียนแต่ละกลุ่มทำน้ำพริก โดยใช้วัตถุดิบที่เตรียมมา
-แต่ละกลุ่ม นำน้ำพริกไปให้บุคคลอื่นชิม ที่นอกเหนือจากเพื่อนในห้อง
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในวันนี้/พบปัญหาหรืออุปสรรคอะไร?มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกัน จากคำแนะนำของครูที่ได้ชิม เพื่อนำคำแนะนำไปปรับปรุงสูตรในการทำน้ำพริก


วันอังคาร
ชง

-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะปรับปรุงและพัฒนาน้ำพริกของกลุ่มตนเองอย่างไรให้น่ารับประทานและรสชาติดียิ่งขึ้น?
ใช้
-แต่ละกลุ่มทำน้ำพริกชนิดเดิม แต่เพิ่มวิธีการแก้ปัญหา และให้คุณครู หรือบุคคลอื่นร่วมชิม
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในวันนี้/พบปัญหาหรืออุปสรรคอะไร?มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?
เชื่อม
-ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกัน จากคำแนะนำของครูที่ได้ชิม เพื่อนำคำแนะนำไปปรับปรุงสูตรในการทำน้ำพริก

วันพุธ
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะปรับปรุงและพัฒนาน้ำพริกของกลุ่มตนเองอย่างไรให้น่ารับประทานและรสชาติดียิ่งขึ้น?
ใช้
-แต่ละกลุ่มทำน้ำพริกชนิดเดิม แต่เพิ่มวิธีการแก้ปัญหา และให้คุณครู หรือบุคคลอื่นร่วมชิม
-แต่ละกลุ่มได้สูตรการทำน้ำพริกที่อร่อยที่สุดสำหรับกลุ่มของตัวเอง
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในวันนี้/พบปัญหาหรืออุปสรรคอะไร?มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?

วันศุกร์
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจาการพัฒนาสูตรน้ำพริก
ใช้
แต่ละกลุ่มนำเสนอสูตรการทำน้ำพริกที่อร่อยที่สุด ให้ครูและเพื่อนกลุ่มอื่นได้ฟัง
ชง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
-“น้ำพริกที่นักเรียนทำสามารถนำไปรับประทานกับเครื่องเคียงอะไรได้บ้าง?” (Flip classroom)
-นักเรียนจะสืบค้นข้อมูลได้อย่างไร?
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

กิจกรรมคู่ขนาน ปลูกพริกและผักสวนครัว
ภาระงาน
-ตำน้ำพริก (ตามกลุ่มที่เรียนรู้ ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้)
-ชิมน้ำพริก
-ปรับปรุงรสชาติ ปรับปรุงสูตรน้ำพริกของแต่ละกลุ่ม
ชิ้นงาน
-น้ำพริก (ตามกลุ่มที่เรียนรู้
-ชาร์ทความรู้น้ำพริก 4 ภาค
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-เข้าใจและสามารถอธิบายความแตกต่างของน้ำพริกแต่ละประเภท

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
เคารพตนเอง  และผู้อื่น


ตัวอย่างภาพกิจกรรมและชิ้นงาน






























1 ความคิดเห็น:

  1. เริ่มสัปดาห์ด้วยการเตรียมวัตถุดิบในการทำน้ำพริกกากหมู ตั้งแต่ขั้นตอนแรกนั่นคือการเจียวกากหมู และที่สำคัญที่สุด คือการคั่วพริกและตำพริก เพื่อเรียนรู้กระบวนการได้มาของพริกป่น คั่วพริกก็รู้สึกแสบแล้ว ตำพริกก็ยิ่งแสบกว่า แต่ละกลุ่มก็เร่งมือตำ เก็บแต้มให้ได้มากที่สุด กลุ่มไหนตำได้เร็วสุด ตำได้เยอะสุด สนุกสนานท่ามกลางเสียงงเชียร์ของเพื่อนในกลุ่ม กลัวพริกกระเด็นเข้าตาเพื่อน ก็เลยช่วยกันเอามือปิดปากครก คนละไม้คนละมือ กระบวนการตำน้ำพริกในสัปดาห์นี้ แ ต่ละกลุ่มได้เลือกเมนูน้ำพริก ซึ่งเป็นเมนูน้ำพริกประจำภาคชนิดใหม่ โดยแต่ละกลุ่มได้เลือกน้ำพริก เตรียมอุปกรณ์และเจอปัญหาซึ่งเมนูน้ำพริกภาคกลางก็คือน้ำพริกลงเรือ แต่ตอนที่เตรียมวัตถุดิบ ไม่ได้เตรียมกุ้งแห้งแต่ได้กุ้งสดแทน พอทำเสร็จ “ครูครับ/ครูคะ น้ำพริกลงคลอง ไม่ใช่น้ำพริกลงเรือ และในขณะที่ทำการผัดน้ำพริก เขาเห็นว่าพริกติดกระทะทำให้น้ำพริกเหลือน้อย ก็เลยไปตำพริกกับกะปิเพิ่ม เพื่อให้ได้ปริมมาณเยอะขึ้น แต่พอทำเสร็จแล้วให้เพื่อนชิม สิ่งที่ทำนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำพริกเค็มเกินไป กลุ่มภาคเหนือ ทำน้ำพริกอ่องแต่ลืมเตรียมวัตถุดิบสสำคัญอย่างหมูสับ จึงไม่ได้ทำในครั้งแรกแต่แยกกันไปเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อน และร่วมเรียนรู้กับกิจกรรมผู้ปกครองอาสา กลุ่มภาคอีสานทำน้ำพริกปลาร้า ครั้งแรกน้ำพริกเปรี้ยวไปแต่ตอนที่พัฒนาสูตรก็รสชาติอร่อยขึ้น และพวกเขาก็ได้ชิมผักเครื่องเคียงใหม่ๆ กลุ่มภาคใต้ ทำน้ำพริกกะปิสูตรภาคใต้ รสแซบอร่อย จนต้องซดให้หมดถ้วย ในวันสุดสัปดาห์ที่ทุกกลุ่มต้องพัฒนาสูตร พร้อมกับเลือกผักเครื่องเคียง ก็มีสิ่งที่เขาได้ค้นพบขณะที่ต้มน้ำ เพื่อลวกผัก เมื่อเขาเห็นน้ำเดือดเป็นฟองสีขาว แล้วพอพวกเขาเติมน้ำลงไปอุณภูมิก็ลดลงฟองก็หายไปและสักพักน้ำก็เดือดใหม่อีครั้ง“นี่ๆ นี่เป็นวิทยาศาสตร์นะเนี่ย ดูสิมีฟองสีขาวด้วย แสดงว่าน้ำเดือดแล้ว” พี่ๆป.3 สามารถจัดการกับสิ่งที่ทำได้ดีมากขึ้น และเรียนรู้การทำน้ำพริกอย่างเต็มที่
    *จะดีกว่านี้ ถ้าครูสร้างสถานการณ์ให้เขาเกิดการประจักษ์ด้วยสายตาจริงๆ เช่นเดียวกับกิจกรรมต้มน้ำลวกผัก

    ตอบลบ