เป้าหมายรายสัปดห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนการทำน้ำพริก ไปจนถึงการนำไปใส่บรรจุภัณฑ์และการนำไปประยุกต์ใช้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
9
19-23ธ.ค.
59
|
โจทย์ :
ทำน้ำพริกเพื่อจัดนิทรรศการ
Key Questions :
-นักเรียนจะทำน้ำพริกที่สามารถเก็บไว้ทานได้นานได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Round Robin
- Card and Chart
- Show and Share
- Mind Mapping
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
- ผู้ปกครอง
บรรยากาศ/สื่อ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน (จัดบรรยากาศครัวไทยสมัยก่อน)
|
วันจันทร์
ชง
-ครูใช้คำถถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนจะทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับน้ำพริกอะไรบ้าง เพื่อให้เก็บได้นานและสามารถเผยแพร่สู่ผู้อื่นได้”
ใช้
-ผู้ปกครอง ครู นักเรียน ร่วมกันทำเมนูน้ำพริก ของแต่ละภาค และเมนูประยุกต์จากน้ำพริก และเก็บไว้เพื่อเตรียมจัดนิทรรศการ
-จัดเตรียมผลิตภัณฑ์ใส่บรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม
วันอังคาร
ใช้
-ผู้ปกครอง ครู นักเรียน ร่วมกันทำเมนูน้ำพริก ของแต่ละภาค และเมนูประยุกต์จากน้ำพริก และเก็บไว้เพื่อเตรียมจัดนิทรรศการ
-จัดเตรียมผลิตภัณฑ์ใส่บรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม
วันพุธ
ใช้
-ผู้ปกครอง ครู นักเรียน ร่วมกันทำเมนูน้ำพริก ของแต่ละภาค และเมนูประยุกต์จากน้ำพริก และเก็บไว้เพื่อเตรียมจัดนิทรรศการ
-จัดเตรียมผลิตภัณฑ์ใส่บรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม
วันศุกร์
ใช้
-นำผลิตภัณฑ์ร่วมแสดงนิทรรศการ
-ถอดบทเรียน
-สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-ทำน้ำพริก
-ทำเมนูประยุกต์จากน้ำพริก
ชิ้นงาน
-น้ำพริกกะปิ
-น้ำพริกหนุ่ม
-น้ำพริกปลาร้า
-แครกเกอร์น้ำพริก
-แซนวิสน้ำพริก
-สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
-เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนการทำน้ำพริก ไปจนถึงการนำไปใส่บรรจุภัณฑ์และการนำไปประยุกต์ใช้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-การทำน้ำพริกให้เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย เพื่อการแบ่งปัน
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
-การจัดตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้น่ารับประทาน
ทักษะการสื่อสาร
-การเชิญชวนให้บุคคลอื่นได้ร่วมชิมเมนูที่ทำขึ้น
ทักษะการจัดการข้อมูล
-การเลือกนำเสนอข้อมูลที่เป็ฯประโยชน์แก่ผ็ชิม เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-การให้ความร่วมมือกับผู้ปกครอง และบุคคลอื่นเพื่อร่วมกันทำอาหารให้น่ารับประทาน
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง และผู้อื่น
|
|
|
|
เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการ เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของน้ำพริกกับวิทยาศาสตร์ ทดลองวิทยาศาสตร์การทดสอบสารอาหาร ด้วยการใช้สารละลายไอโอดีน สารละลายเบเนดิกซ์ สารละลายไบยูเรต พี่ๆป.3ตื่นเต้นและสนใจกับผลการทดลองที่จะเกิดขึ้น พยายามจำชื่อ สารละลายที่ใช้ทดสอบ ทั้งพยายามเรียกชื่อสารละลาย “ครูคะ หนูจะจำการชื่อสารและการทดลองได้ยังไงคะตอนสรุปสัปดาห์” ก็เลยได้จดบันทึกลงในสมุดบันทึกการเรียนรู้ ตั้งแต่อุปกรณ์การทดลอง ไปจนถึงผลการทดลองที่เกิดขึ้น และได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงปัจจัยการเน่าเสียของน้ำพริก “พี่ๆสังเกตเห็นอะไรในกระปุกน้ำพริกโจร” “เห็นว่ามีลม มีแก็สอยู่ในนั้น” “ทำไมอันนี้ไม่มีน้ำแต่มีราขึ้นละคะ” ร่วมกันวิเคราะห์ไปพร้อมกันถึงผลการทดลองที่เกิดขึ้นในน้ำพริกบางชนิดที่มีรสหวาน เมื่อบูดเสีย หมดอายุ จะมีสภาวะเป็นเบส เป็นเพราะยีสต์ที่ไปยับยั้งกรดอินทรีย์ในอาหารเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต และสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้คือการสรุปองค์ความรู้รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่น จึงต้องมีการเตรียม โดยพวกเขาจะต้องเตรียมน้ำพริกอย่างแรกก่อนนั่นคือ เมี่ยงปลาร้า แต่ละกลุ่มช่วยกันหั่นตะไคร้ช่วยกันตำ ตำจนครกจะแตก “ครูครับอันนี้ตำละเอียดหรือยังครับ” คำถามนี้ก็จะเกิดขึ้นบ่อยมาก กิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำก็คือการทำโปสเตอร์เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับน้ำพริก แต่ละกลุ่มต้องช่วยกันทำ มีการสืบค้นข้อมูลจากกอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งซ้อมนำเสนอ
ตอบลบ